เรื่องเด่นล่าสุด

อช331141 : ผ้าจกเมืองลอง “ผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง



เป็นรายวิชาเลือกเสรีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
กระทรวงศึกษาธิการ



เมืองลองในอดีตเป็นเมืองของชาวไทยยวนหรือชาวไทยโยนก ที่มีวัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้งด้านการแต่งกายเป็นแบบเดียวกับชาวโยนกเมืองอื่นในอาณาจักรล้านนาโดยทั่วไป ชาวล้านนาเป็นพวกไทยยวนซึ่งมีเทคนิคและศิลปะการทอผ้าในรูปแบบของตนเอง ผู้หญิงไทยวนนิยมแต่งกายด้วยผ้าซิ่นทอชนิดต่างๆ และผ้าซิ่นตีนจกเป็นผ้าซิ่นที่ทอขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษ โดยวัสดุที่ใช้ในการทอมีทั้งที่เป็นฝ้ายไหม ดิ้นเงิน ดิ้นทอง ทอเป็นผ้าลวดลายสวยงาม
การทอผ้าตีนจกของชาวเมืองลอง เริ่มขึ้นมานานเพียงใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่สันนิษฐานว่าความรุ่งเรืองของเมืองลองมีมามานานกว่า 200 ปี จากหลักฐานภาพถ่ายเจ้านายฝ่ายหญิงของเมืองแพร่ในสมัยก่อนพ.ศ. 2445 พบว่า ผ้าซิ่นที่ใช้สวมใส่จะมีเชิงซิ่นเป็นตีนจก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นซิ่นตีนจกที่ทอขึ้นโดยช่างทอผ้าชาวเมืองลอง นอกจากนี้หลักฐานการใช้ผ้าทอตีนจกเมืองลอง ในการแต่งกายของชาวเมืองลองยังปรากฏมานานนับร้อยปี หลักฐานนี้คือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ วัดเวียงต้า ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง ฝีมือช่างพื้นบ้านที่มีความงามไม่ด้อยไปกว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่านจิตรกรรมเวียงต้า เป็นภาพวิถึชีวิตความเชื่อการแต่งกายของชาวบ้านเวียงต้า ซึ่งเป็นคนเมืองลองในยุคนั้น จากภาพจะเห็นผ้าถุงที่ผู้หญิงในภาพใช้สวมใส่เป็นซิ่นตีนจก

หลักสูตรนี้พัฒนาโดย
กศน.อำเภอลอง
จังหวัดแพร่

No comments